วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

แบไต๋ไอเทค



                                                                    แบไต๋ไฮเทค

              แบไต๋ ไฮเทค เป็นรายการโทรทัศน์ ประเภทวาไรตี้ทอล์กโชว์ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ออกอากาศทาง เนชั่น แชนแนล เป็นรายการสด ดำเนินรายการโดย พี่หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์, ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย หรือที่เรียกกันว่า "อ.ศุภเดช", ที่รัก บุญปรีชา หรือที่รู้จักกันในนาม "พี่หลาม จิ๊กโก๋ไอที", พีรพล ฉัตรอนันทเวช หรือที่รู้จักกันในนาม "ปีเตอร์กวง ควงมือถือ" และพิธีกรหญิง คือ ลิซ่า แซดเลอร์, มะเหมี่ยว ชนิดา ประสมสุข และ ฮิโรโกะ ยามากิชิ ปัจจุบันออกอากาศทุกวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 19.00 น. ทางคมชัดลึกทีวี และ Dude TV พร้อมกันสองช่อง และออกอากาศซ้ำ (รีรัน) เวลา 00.00 น. ทางเนชั่น แชนแนล ประวัติ[แก้] รายการ แบไต๋ ไฮเทค เป็นรายการโทรทัศน์วาไรตี้ทอล์กโชว์ข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบการถ่ายทอดสด ที่ผลิตขึ้นโดย บริษัท โชว์ไร้ขีด จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ผู้ดำเนินรายการในตอนแรกคือ พี่หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ , อ.ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย และ พี่หลาม จิ๊กโก๋ไอที ในช่วงแรกจะมีช่วงรายการหลักๆ เพียง 2 ช่วงคือ 1. ยำใหญ่ IT News 2. คอมหนูไม่รู้เป็นไร แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551 ทางรายการจึงได้มีการปรับปรุงรูปแบบและฉากหลังของรายการใหม่ โดยได้เพิ่มพิธีกรเข้ามาใหม่คือคุณ พีรพล ฉัตรอนันทเวช หรือที่รู้จักกันในนาม "ปีเตอร์กวงควงมือถือ" ซึ่งมาพร้อมกับช่วงใหม่ "ปีเตอร์กวงควงมือถือ" ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552 ทางรายการได้เพิ่มพิธีกรผู้หญิงคือคุณ ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ หรือซี มาเป็นพิธีกรรายการในช่วงของข่าวสั้นทันโลกกับน้องซี บางสัปดาห์จะมีการนำคนในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคนที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้หรือไปแข่งขันจนเป็นประโยชน์ต่อประเทศ มาสัมภาษณ์ในรายการ โดยส่วนใหญ่จะสัมภาษณ์ว่าได้ทำอะไรบ้างหรือการแข่งขันที่ได้เข้าร่วมมีกติกาหรือการแข่งขันอย่างไรบ้าง เป็นต้น มีการเพิ่มช่วงรายการ ชาวโลกใน Youtube และ คนไทยในยูทูบ เพื่อเป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอดีๆที่เกิดขึ้นบนโลก หรือนำเสนอผลงานฝีมือคนไทยที่น่าสนใจจากยูทูบในช่วงเปิดรายการ นอกจากนี้ หากทางรายการมีรายงานพิเศษ ก็อาจจะเพิ่มช่วงรายการออกมา เช่น มันสมองคนIT, New Gadget, Special Scoop, รายงานพิเศษ เรื่องต่างๆ เป็นต้น จากนั้นได้เปลี่ยนเวลาออกอากาศจากแต่เดิมที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 22.15 น. จนถึงเวลา 23.45 น.โดยประมาณ เป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 21.45 น. จนถึงเวลา 23.15 น. (โดยมีเกาะติดข่าวร้อนคั่นเวลารายการ) เพื่อให้ผู้ที่รับชมรายการนี้ได้รับชมรายการได้เร็วขึ้น และวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป รายการแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ โดยจะออกอากาศผ่าน 5 สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยนอกจาก เนชั่น แชนแนล แล้ว ยังจะมี Dude TV แมงโก้ทีวี (ปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น คมชัดลึก ทีวี) แคท แชนแนล(กสท.) และ แก๊งการ์ตูน แชนแนล โดยจะออกอากาศครั้งแรกที่ช่อง Dude TV และหลังจากนี้จะฉายทางช่องอื่นๆต่อไป โดยจะออกอากาศทุกวันศุกร์ ถึง วันอังคาร โดยเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำจากอาคารเนชั่นทาวเวอร์ เป็นที่ ดิจิตอล เกทเวย์ (Digital Gateway) สยามสแควร์แทน โดยผู้ชมสามารถเข้าไปนั่งดูรายการสดและมีส่วนร่วมกับรายการได้ ทั้งนี้จะยังมีพิธีกรที่จะมาดำเนินรายการเพิ่มอีก 5 คน ซึ่งมีดังนี้ เอมี่ กลิ่นประทุม, ลิซ่า แซดเลอร์, ณัฐนันท์ จันทรเวช หรือ ม็อค จี-ทเวนตี้, มะเหมี่ยว ชนิดา ประสมสุข และ ฮิโรโกะ ยามากิชิ (ซึ่งเคยโฆษณาเครื่องปรุงอาหาร) มาเป็นพิธีกร โดยในแบไต๋ไฮเทคใหม่จะขาดคุณซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ ไป เนื่องด้วยเวลาของรายการที่ปรับใหม่ จึงทำไม่สามารถมาร่วมดำเนินรายการได้ โดยในอนาคตอาจจะกลับมาดำเนินรายการได้ เมื่อเข้าสู่ซีซั่นที่สองของรูปแบบเดลี่ไฟว์ไลฟ์ รายการแบไต๋ไฮเทคได้ปรับรูปแบบการออกอากาศใหม่อีกครั้ง คือ ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 19.15 น. ทาง Dude TV และ คม-ชัด-ลึก TV พร้อมกันสองสถานี และออกอากาศซ้ำอีกครั้งในเวลา 21.15 น. ทาง TRUE 72 และเวลา 01.15 น. ทางเนชั่นบันเทิง โดยคุณหนุ่ย ได้พูดในรายการไว้ว่า "เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านรับชมได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องจำวันเวลาและช่องทางการออกอากาศให้สับสนอีกต่อไป" โดยในซีซั่นนี้ไม่มีพิธีกรหญิงร่วมดำเนินรายการเหมือนซีซั่นที่แล้ว แต่ในบางเทปอาจจะได้เห็นพิธีกรหญิงบางท่านมาทำหน้าที่แทนพิธีกรหลักที่ติดภารกิจในวันนั้นก็เป็นได้

รูปแบบรายการยุคแบไต๋ไฮเทค เอกซ์ ทู[แก้]

  1. Prelude(ต้นรายการ) - เป็นการนำเสนอเหตุการณ์และเรื่องราวของพิธีกรในรอบ 1 สัปดาห์ และนำเสนอของรางวัล/ผู้สนับสนุน รวมถึงไฮไลท์ประจำสัปดาห์
  2. ชาวโลกใน YouTube / คนไทยในยูทูบ - เป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอจากยูทูปที่ถูกโพสต์โดยชาวต่างชาติหรือคนไทย โดยมีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ
  3. ข่าวสั้นทันโลก - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับไอทีสารสนเทศและสินค้าไอทีสารสนเทศที่ออกใหม่
  4. Bestbuy แบไต๋ - เป็นการนำเสนอสินค้าผ่านรายการ (คล้ายๆ รายการขายของที่มีในช่องฟรีทีวี) ในช่วงหลังๆ ช่วง Bestbuy ทางรายการได้เปลี่ยนเป็นช่วงหนุ่ยแนะนำ ทำทุก Deal แทน
  5. ยำใหญ่ IT News - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับไอทีสารสนเทศทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
  6. ปีเตอร์กวงควงมือถือ - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งนำโทรศัพท์ที่ออกมาใหม่มาทำการวิจารณ์
  7. คอมหนู มือถือหนู ไม่รู้เป็นไร - เป็นการให้ผู้ชมทางบ้านเข้ามาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ พร้อมทั้งตอบคำถามชิงรางวัล

รูปแบบรายการยุคแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์[แก้]

  1. Prelude(ต้นรายการ) - เป็นการนำเสนอเหตุการณ์และเรื่องราวของพิธีกรรวมถึงเรื่องราวของรายการในแต่ละวัน และนำเสนอของรางวัล/ผู้สนับสนุน รวมถึงไฮไลท์ประจำสัปดาห์
  2. แบไต๋ Battle - เป็นการนำสินค้าเทคโนโลยีที่ออกมาใหม่ล่าสุด นำมาวิจารณ์กันว่าอันไหนมีประสิทธิภาพเหนือกว่ากัน โดยให้อาจารย์ศุภเดช กับพี่หลาม เป็นคู่ชก หากอันไหนมีประสิทธิภาพแย่ ฝ่ายที่ชนะก็จะชกต่อยทันที หากประสิทธิภาพนั้นเท่าเทียมกัน ก็จะเป็นการกอดกันแทน การชกกันในช่วงรายการเป็นการชกเพื่อความบันเทิงแก่ผู้ชม โดยไม่มีการชกกันจนต้องมีเลือดออกมาเหมือนมวยจริงๆ โดยนำเสนอทุกวันจันทร์
  3. คนไทยใน YouTube - เป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอจากยูทูปที่ถูกโพสต์โดยคนไทย โดยมีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ โดยอาจจะเชิญคนที่ทำคลิปสร้างสรรค์มาให้สัมภาษณ์ในรายการ (ในภายหลังได้ใช้ชื่อช่วงว่า "ชาวโลกในยูทูป" แทน)
  4. งม App ในมหาสมุทร - เป็นการนำเสนอแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เป็นประโยชน์หรือสร้างสรรค์ เช่น นำเสนอเกมสอนภาษาอังกฤษบน ไอแพด เป็นต้น
  5. ข่าวสั้นทันโลกไอที - เป็นช่วงที่มีรูปแบบแบบเดียวกับช่วงยำใหญ่ IT News แต่จะรายงานข่าวสั้นกว่า โดยจะรายงานก่อนเข้าข่าวยาว (ปัจจุบันคือช่วง "News Alert")
  6. ยำใหญ่ IT News - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับไอทีสารสนเทศทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
  7. ปีเตอร์กวงควงมือถือ - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พร้อมทั้งนำโทรศัพท์ที่ออกมาใหม่มาทำการวิจารณ์
  8. มีฮาร์ดแวร์ Share ให้ชม - เป็นการนำเสนออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ออกมาใหม่ โดยจะแสดงการใช้งานอุปกรณ์ทางรายการว่าภายในอุปกรณ์ที่ออกมานั้นมีอะไรบ้าง รวมถึงข้อดีข้อเสียของอุปกรณ์นั้นๆที่นำมาแสดงในรายการทุกวันเสาร์
  9. คอมหนู มือถือหนู ไม่รู้เป็นไร - เป็นการให้ผู้ชมทางบ้านเข้ามาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ พร้อมทั้งตอบคำถามชิงรางวัล โดยจะแจกรางวัลและสอบถามปัญหาคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
  10. Sugoi Gadget (สุโค่ย แกดเจด) - จะนำเสนออุปกรณ์สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศและร้านค้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาขายหรือจำหน่าย ซึ่งภาพนั้นมาจากย่าน อะกิฮะบะระ ประเทศญี่ปุ่น โดยจะนำเสนอทุกวันอังคาร
  11. Game Me More (เกม มี มอร์) - เป็นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับเกมที่ออกมาใหม่ และวิจารณ์เกมที่ออกมาใหม่ โดยจะนำเสนอทุกวันอังคาร
  12. หนุ่ยแนะนำ ทำทุก Deal - เป็นช่วงรายการที่ให้ผู้ที่อยากซื้อสินค้า สามารถซื้อของได้ในราคาที่ถูกลง โดยการซื้อเป็นกลุ่ม คือการซื้อตามจำนวนที่กำหนด โดยจะสามารถซื้อหลายๆคนได้ แต่ถ้าครบตามจำนวนจะปิดการขาย หรือถ้าไม่ครบตามจำนวนก็จะไม่ขาย โดยจะคล้ายๆส่วนลด แต่ต้องสั่งซื้อเป็นกลุ่มถึงจะซื้อได้ในราคาที่ถูกลง
  13. ชาวโลกใน Youtube - เป็นการนำเสนอคลิปวิดีโอจากยูทูปที่ถูกโพสต์โดยชาวต่างชาติ โดยมีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจ (ปัจจุบันคือช่วง "ดูชิวชิว เพิ่มวิวให้มันส์")
  14. Cosplay เจอจังจัง - เป็นการนำคนที่แต่งคอสเพลย์ตัวละครจากการ์ตูนชื่อดัง เชิญมาให้สัมภาษณ์ในรายการ โดยจะนำเสนอทุกวันอังคาร
  15. เจาะเกราะ Gamer - เป็นช่วงที่เกี่ยวกับเกมโดยเฉพาะ โดยจะมีพิธีกรภาคสนามออกไปสัมภาษณ์ผู้ที่ผลิตเกมออกสู่ตลาด รวมถึงพาไปพบกับบบรยากาศงานเกมที่จัดในประเทศ

วิธีการติดต่อรายการ[แก้]

เป็นการให้ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมกับรายการ ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามปัญหาคอมพิวเตอร์ของผู้ชม ปัญหาระบบเครือข่าย ปัญหาโทรศัพท์มือถือที่ผู้ชมใช้อยู่ ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีการตอบคำถามเพื่อชิงรางวัลที่รายการนำมาแจกทุกสัปดาห์

วิธีการติดต่อรายการในยุคแรก (ช่วงแบไต๋ไฮเทค ปี 2549 - 2551)[แก้]

สำหรับวิธีการติดต่อรายการ ในช่วงแรกมีช่องทางการติดต่อ 4 ช่องทางคือ โทรศัพท์ผ่านรายการในช่วงคอมนู๋ ไม่รู้เป็นไร, ส่งข้อความโดยใช้บริการข้อความสั้น (SMS), ติดต่อรายการผ่าน วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ และผ่านเว็บแคม (คือให้ผู้ชมทางบ้านบันทึกคลิปวิดีโอเกี่ยวกับปัญหาคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บแคมส่งมายังรายการ) แต่ต่อมาการติดต่อรายการผ่าน วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ อาจทำให้พิธีกรไม่สามารถตอบกลับข้อความจากผู้ชมทางบ้านได้ จึงหันมาใช้การติดต่อรายการผ่านกระดานสนทนาของเว็บไซต์รายการแทน จึงทำให้ผู้ชมทางบ้านสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานสนทนาของเว็บไซต์รายการได้

วิธีการติดต่อรายการในยุคแบไต๋ไฮเทค เอกซ์ทู (ปี 2551 - 2554)[แก้]

ต่อมาเมื่อมาถึงช่วงของแบไต๋ไฮเทค เอกซ์ทู ออกอากาศไปได้สักระยะหนึ่ง ทางรายการจึงตัดการติดต่อรายการผ่านเว็บแคมออกไป เนื่องจากเกิดปัญหาบางประการ ช่องทางการติดต่อของรายการจึงเหลือเพียง 3 ช่องทางคือ โทรศัพท์ผ่านรายการในช่วงคอมนู๋มือถือนู๋ ไม่รู้เป็นไร,ส่งข้อความโดยใช้บริการข้อความสั้น (SMS) และ กระดานสนทนา ของเว็บไซต์รายการ แต่พอในปี พ.ศ. 2552 รายการแบไต๋ ไฮเทค จึงเพิ่มช่องทางการติดต่อรายการผ่าน ทวิตเตอร์ ของพิธีกร ซึ่งทำให้ผู้ชมทางบ้านหลายท่านตัดสินใจสมัคร ทวิตเตอร์ เพื่อติดต่อกับพิธีกรรายการ หลังจากนั้นการติดต่อผ่าน ทวิตเตอร์ของรายการได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนเมื่อมาถึงปี พ.ศ. 2553 ทางรายการจึงงดการส่งข้อความผ่านทาง SMS แล้วเปลี่ยนมาใช้เป็นการส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ โดยการใส่แท็กข้อความ #beartai ตามหลังข้อความที่ผู้ชมทางบ้านได้พิมพ์เข้ามา และปี พ.ศ. 2554 มีแฟนรายการได้สร้าง แฟนเพจ ของรายการที่ เฟซบุ๊ก โดยผู้ชมสามารถที่จะเข้าไปแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยได้ที่หน้า แฟนเพจ ได้เช่นกัน

วิธีการติดต่อรายการในยุคแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ (ปี 2554 - ปัจจุบัน)[แก้]

สำหรับวิธีการติดต่อรายการในยุคแบไต๋ไฮเทค เดลี่ ไฟว์ไลฟ์ ผู้ชมสามารถพูดคุยหรือเสนอความคิดเห็นรายการทาง แฟนเพจ ของรายการที่ เฟซบุ๊ก ทาง กระดานสนทนา ของเว็บไซต์รายการ และทาง ทวิตเตอร์ โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารแล้วต่อท้ายด้วย #Beartai หรือ #แบไต๋ แล้วข้อความจะปรากฏบนหน้าจอในช่วงที่รายการออกอากาศ

แบไต๋ไฮเทค

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเขียนผังงาน

การเขียนผังงาน
เนื้อหา
• การเขียนผังงาน ( Flowchart )
• ผังงานกับชีวิตประจำวัน
• โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection )
• โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำ

การเขียนผังงาน ( Flowchart )ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการประโยชน์ของผังงาน• ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
• ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
• ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
• ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น

วิธีการเขียนผังงานที่ดี• ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
• ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
• คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย
• ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก
• ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
• ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม
ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้
จุดเริ่มต้น / สิ้นสุดของโปรแกรม
ลูกศรแสดงทิศทางการทำงานของโปรแกรมและการไหลของข้อมูล
ใช้แสดงคำสั่งในการประมวลผล หรือการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปร
แสดงการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายใน เครื่องหรือการแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา
การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจ โดยจะมีเส้นออกจารรูปเพื่อแสดงทิศทางการทำงานต่อไป เงื่อนไขเป็นจริงหรือเป็นเท็จ
แสดงผลหรือรายงานที่ถูกสร้างออกมา
แสดงจุดเชื่อมต่อของผังงานภายใน หรือเป็นที่บรรจบของเส้นหลายเส้นที่มาจากหลายทิศทางเพื่อจะไปสู่ การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน
การขึ้นหน้าใหม่ ในกรณีที่ผังงานมีความยาวเกินกว่าที่จะแสดงพอในหนึ่งหน้า

รูปที่1 แสดง สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานโปรแกรม

ผังงานกับชีวิตประจำวันการทำงานหลายอย่างในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งก่อนที่ท่านจะได้ศึกษาวิธีการเขียนผังงานโปรแกรม จะแนะนำให้ท่านลองฝึกเขียนผังงานที่แสดงการทำงานในชีวิตประจำวันวันก่อนเพื่อเป็น การสร้างความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์รูปภาพต่าง ๆ ที่จะมีใช้ในผังงานโปรแกรมต่อไป ดัง ตัวอย่าง 1 เขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย


รูปที่ 2 แสดงการเขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย
ตัวอย่างที่ 2 เขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา ที่แบ่งขนาดรับประทานตามอายุของผู้ทานดังนี้
• อายุมากกว่า 10 ปี รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 3 ปี ถึง 10 ปี รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา
• แรกเกิดถึง 1 ปี ห้ามรับประทาน


รูปที่ 3 แสดงการเขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา

โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือก ( Selection )เป็นโครงสร้างที่ใช้การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ IF - THEN - ELSE และ IF - THEN




รูปที่4 แสดงโครงสร้างผังงานแบบมีการเลือก
โครงสร้างแบบ IF - THEN - ELSE เป็นโครงสร้างที่จะทำการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่ใส่ไว้ในส่วนหลังคำว่า IF และเมื่อได้ผลลัพธ์จากการเปรียบเทียบก็จะเลือกว่าจะทำงานต่อในส่วนใด กล่าวคือถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ( TRUE ) ก็จะเลือกไปทำงานต่อที่ส่วนที่อยู่หลัง THEN แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ( FALSE ) ก็จะไปทำงานต่อในส่วนที่อยู่หลังคำว่า ELSE
แต่ถ้าสำหรับโครงสร้างแบบ IF - THEN เป็นโครงสร้างที่ไม่มีการใช้ ELSE ดังนั้น ถ้ามีการเปรียบเทียบเงื่อนไขที่อยู่หลัง IF มีค่าเป็นจริง ก็จะไปทำส่วนที่อยู่หลัง Then แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะไปทำคำสั่งที่อยู่ถัดจาก IF - THEN แทน
ตัวอย่าง 3 การเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร A และ B แล้วทำการเปรียบเทียบในตัวแปรทั้งสอง โดยมีเงื่อนไขดังนี้
• ถ้า A มากกว่า B ให้คำนวณหาค่า A - B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT
• ถ้า A น้อยกว่าหรือเท่ากับ B ให้คำนวณหาค่า A + B และเก็บผลลัพธ์ไว้ในตัวแปรชื่อ RESULT


รูปที่ 3 แสดงการเขียนผังงานอ่านค่าข้อมูล
ตัวอย่าง 4 การเขียนผังงานเปรียบเทียบค่าข้อมูลที่เก็บอยู่ในตัวแปร X โดยมีเงื่อนไขดังนี้• ถ้า X > 0 ให้พิมพ์คำว่า " POSITIVE NUMBER "
• ถ้า X < 0 ให้พิมพ์คำว่า " NEGATIVE NUMBER "
• ถ้า X = 0 ให้พิมพ์คำว่า " ZERO NUMBER "


รูปที่ 4 แสดงการเขียนผังงานเปรียบเทียบค่าข้อมูล

โครงสร้างการทำงานแบบมีการทำงานซ้ำเป็นโครงสร้างที่มีการประมวลผลกลุ่มคำสั่งซ้ำหลายครั้ง ตามลักษณะเงื่อนไขที่กำหนด อาจเรียก การทำงานซ้ำแบบนี้ได้อีกแบบว่า การวนลูป ( Looping ) โครงสร้างแบบการทำงานซ้ำนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
• DO WHILE
• DO UNTIL
DO WHILEเป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน


แสดงโครงสร้างการทำงานซ้ำแบบ DO WHILE
DO UNTILเป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน


แสดงโครงสร้างการทำงานซ้ำแบบ DO UNTIL
สรุปข้อแตกต่างระหว่าง DO WHILE และ DO UNTIL มีดังนี้1. DO WHILE ในการทำงานครั้งแรกจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะมีการเข้ลูปการทำงาน
2. DO UNTIL การทำงานครั้งแรกจะยังไม่มีการตรวจสอบเงื่อนไข แต่จะเข้าไปทำงานในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้งแล้วจึงจะไปตรวจสอบเงื่อนไข
3. DO WHILE จะมีการเข้าไปทำงานในลูปก็ต่อเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วพบว่า เงื่อนไขเป็นจริง แต่เมื่อพบว่าเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปทันที
4. DO UNTIL จะมีการเข้าไปทำงานในลูปก็ต่อเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขแล้วพบว่า เงื่อนไขเป็นเท็จ แต่เมื่อพบว่าเงื่อนไขเป็นจริง ก็จะออกจากลูปทันที
ตัวอย่าง 5 จงเขียนผังงานแสดงการเพิ่มของข้อมูลตัวเลขที่เก็บอย่ในหน่วยความจำที่แอดเดรส 1 โดยที่ค่าเริ่มต้นจาก 0 ให้ทำการเพิ่มค่าทีละ 1 เรื่อยไปจนกระทั่ง J มีค่าข้อมูลมากกว่า 100 จึงหยุดการทำงาน

ตัวอย่างนี้ เป็นตัวอย่างการทำงานแบบทำซ้ำ ซึ่งจะสามารถแสดงการเขียนได้ทั้งแบบ DO WHILE และ DO UNTIL ดังนี้



วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556


บัญญัติ 10 ประการ
        
         1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
         2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
         3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดุแฟ้มข้อมูลของผุ้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
         4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
         5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
         6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
         7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
         8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
         9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
       10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบัน         หรือสังค มนั้นๆ